15 - 16 ธค. 2553 ออกปฎิบัติการอำเภอยิ้มร่วมหลายหน่วยงาน ณ หมู่ที่ 5 บ้านน้ำรู ตำบลเมืองคอง นับว่าเป็นเส้นทางที่ยากลำบากมากของอำเภอเชียงดาวของที่ผ่านมา ในการออกเยี่ยมราษฎรซึ่งส่วนใหญ่ของหมู่บ้านเป็นพี่น้องชาวลีซู มีการเลี้ยงสุกรเกือบทุกครอบครัว โดยใช้ข้าวโพดอาหารสัตว์เป็นหลัก เสริมด้วยถั่วแดงที่คัดออกจากผลผลิตปกติตามฤดูกาล จึงทำให้เห็นว่าสุกรส่วนใหญ่มีสุขภาพสมบูรณ์กว่าที่อื่นๆ และมีเล้าโรงเรือนที่ค่อนข้างเป็นระบบ
วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553
อำเภอยิ้ม ตค. 53
วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553
อำเภอยิ้ม กย. 53
23 กันยายน 2553 ทีมหน่วยงานอำเภอเชียงดาว ออกปฏิบัติการอำเภอยิ้ม ณ หมู่ที่ 16 บ.ห้วยน้ำริน ต.ปิงโค้ง ซึ่งเป็นบ้านกลุ่มพี่น้องลีซู ซึง่มีกว่า 100 ครอบครัว ด้านปศุสัตว์ไม่มีการเลี้ยงโค-กระบือ แต่เกือบทุกครัวเรือนจะนิยมเลี้ยงสุกรพื้นเมืองสีดำบนพื้นดินแบบมีคอกรั้วล้อม และสัตว์ปีกไก่เป็ดอีกเล็กน้อย จากการเข้าเยี่ยมสำรวจหมู่บ้านที่มาของชื่อห้วยน้ำริน ก็เพราะว่าในหมู่บ้านจะมีจุดๆหนึ่งที่มีตาน้ำไหลมาออกตลอดปี ให้ชาวบ้านได้ไว้ใช้สอยทุกอย่าง และใสสะอาดแม้ว่าจะเ็ป็นฤดูฝนก็ตาม ปัจจุบันได้พัฒนาสภาพเพื่อความสะดวกดังภาพ
วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553
สัมมนาค้าชายแดนเชียงใหม่
21 กันยายน 2553 ร่วมสัมมนา "การขยายช่องทางการค้าชายแดนจังหวัดเชียงใหม่" จัดโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมศักยภาพการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อส่งเสริมความเข้าใจ ความสัมพันธ์ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการค้าชายแดน ณ ริมดอยรีสอร์ท อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ มีหลายหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและเอกชน / กลุ่มผู้ค้า เข้าร่วมในครั้งนี้ ทั้งนี้ นายกิตติพงศ์ อุดมเศรษฐ์ หัวหน้าด่านกักกันสัตว์เชียงใหม่ ได้ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ ด้านกฎระเบียบ ในการส่งเสริมการค้าชายแดนในครั้งนี้
วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553
อบรมไก่พื้นเมืองเป็นการค้า
17 กันยายน 2553 นำเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกอำเภอเชียงดาว ร่วมอบรมการเลี้ยงและการจัดการไก่พื้นเมืองเป็นการค้า จัดโดย ผศ.ดร. มานิตย์ เทวรักษ์พิทักษ์ ร่วมกับ ผศ.ดร. ประภากร ธาราสาย จากคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ เพชรรัตน์ฟาร์ม 91 ม.9 บ้านพระธาตุ ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเกษตรกรได้รับความรู้ด้านการคัดเลือกพันธุ์ / การจัดการด้านโรงเรือน / การจัดการไก่พื้นเมืองในระยะะต่างๆ / โรคและการสุขาภิบาลป้องกัน พร้อมภาคปฏิบัติ ทั้งนี้เกษตรกรยังได้รับมอบกระติกและอุปกรณ์ทำวัคซีนสัตว์ปีก เพื่อนำไปใช้กับสัตว์ปีกของตนเองอีกด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)