ระวังโรคหูดับ หรือเสียชีิวิตด้วย โรคสเตรปโตคอคคัส ซูอิส เพื่อสุขภาพควรรับประทานเนื้อและเลือดสุกร ที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ประมวลภาพอบรมผลิตอาหารสัตว์

13 กันยายน 2553 นำเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกของอำเภอเชียงดาว เข้าร่วมอบรมการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ การผลิตอาหารสัตว์จากผลพลอยได้/เศษเหลือทางการเกษตร โดยมี ดร.ทองเลียน บัวจูม / ดร.บัวเรียม มณีวรรณ์ /อ. เผ่าพงษ์ ปูระณะพงษ์ / อ.โยธิน นันตา จากคณะสัตว์ศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นวิทยากรให้ความรู้ ณ เพชรรัตน์ฟาร์ม ม.9 บ้านพระธาตู ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับคือ ประเภทกลุ่มของอาหาร / สารพิษของพืชอาหารสัตว์ / ระดับความต้องการของสารอาหารของสัตว์ตามความแตกต่างของอายุสัตว์ ซึ่งสามารถทบทวนต่อการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เนื่องจากเกษตรกรโดยทั่วไปให้อาหารสัตว์ด้วยความรู้สึกของตนเองว่าให้ปริมาณเพียงพอแล้วแก่สัตว์ แต่ยังขาดหลักการที่ถูกต้องอันมีผลต่อการเจริญเติบของสัตว์หรืออาจทำให้ได้รับสารอาหารเกินความจำเป็นต่อร่างกายประจำวัน จึงทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ต้องเพิ่มสูงขึ้นและสูญเสียเวลาเพิ่มเติมในการเลี้ยงดู การอบรมในครั้งนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรเองและผู้รับการอบรมยังสามารถถ่ายทอดความรู้นี้ไปสู่เพื่อนเกษตรกรรายอื่นๆ








การหมักเริ่มโดยการเตรียมหยวกกล้วยสับเป็นชิ้นเล็ก แล้วคลุกเคล้าด้วยน้ำตาลทรายแดง / เกลือป่น / เชื้อจุลินทรีย์ ให้ทั่วถึงกันในส่วนที่ผสมทั้งหมด ในถุงพลาสติกหนาใสอัดไล่อากาศออกให้มากที่สุด เนื่องจากจุลินทรีย์จะทำงานในสภาวะไร้อากาศ(อ๊อกซิเจน) ใช้เวลาหมักเป็นเวลา 3-7 วัน แล้วนำไปใช้จะได้ผลดีที่สุด เพราะเป็นช่วงที่มีปริมาณจุลินทรีย์จำนวนมากอันเป็นประโยชน์ต่อร่างกายสัตว์และทั้งนี้ผลพวงของจุลินทรีย์จะทำให้เกิดกรดแลคติค ซึ่งจะสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆที่ก่อให้เกิดโรคได้เป็นอย่างดี ทำให้อาหารสัตว์ที่หมักมีความปลอดภัยจากเชื้อโรคและเชื้อรา และโดยเฉพาะประโยชน์จากกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่จะได้เมื่ออยู่ที่ส่วนของลำไส้สัตว์แล้ว การเติมเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โปรไบโอติก(PROBIOTIC) ( อัตราวัตถุดิบ หยวกกล้วย : นำ้ำตาลทรายแดง : เกลือ = 100 : 4 : 1 ) ทั้งนี้เมื่อหมักเสร็จตามกำหนดต้องนำมาผสมกับวัตถุดิบอื่นๆอีกที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดถั่วเหลืองบด / ข้าวโพด หรือถั่วแระ / ไดแคลเซียม และพรีมิกซ์ ตามสูตรอายุสัตว์เพื่อให้ตรงกับความต้องการต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ ที่สำคัญอีกจุดหนึ่งคือ เกษตรกรสามารถนำส่วนที่หมักแล้วนำไปต่อเชื้อได้อีกเรื่อยๆ เพียงใช้ส่วนที่หมักได้แล้วจำนวน 10 % ในการผสมคลุกเคลัากับส่วนที่ทำอาหารหมักใรครั้งต่อไป ทำแบบนี้ทุกๆครั้งอย่างต่อเนื่องก็จะมีเชื้อจุลินทรีย์ขยายได้ตลอดไป



























ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณคณาจารย์วิทยากรเป็นอย่างสูงในการให้ความรู้ครั้งนี้ ตลอดทั้งการมอบอาหารหมักเพื่อนำไปต่อเชื้อแก่กลุ่มเกษตรกร และขอขอบคูณ คุณซิมโอน ปัญญา เป็นอย่างยิ่งในการบอกข่าวสารและประสานแทรกความรู้จากประสบการณ์ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง





สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้โดยตรงกับ ดร.ทองเลียน บัวจูม 08 - 9633 - 4228 / ดร.บัวเรียม มณีวรรณ์ 08 - 1960 - 0700 เพชรรัตน์ฟาร์ม (ฟาร์มเครือข่าย ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่) 08 - 9235 - 1796 และ 08 - 6670 - 9949 และ คุณซิมโอน ปัญญา (สวนแพรฟาร์ม) 08 - 1796 - 3702

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น